หัวข้อน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ในปัจจุบัน เครื่องกําเนิดไฟฟ้า ถือเป็นสิ่งที่จําเป็นสําหรับสถานประกอบการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน โดยระบบการผลิตหรือว่าการบริการต้องอาศัยพลังงานจากไฟฟ้าเมนหลักจากการไฟฟ้า เพราะหากเมื่อใดที่พลังงานไฟฟ้าเมนหลักจากการไฟฟ้ามีปัญหา ไม่สามารถจ่าย กระแสไฟฟ้าได้ ระบบการผลิตหรือการบริการจะได้รับความเสียหาย ดังนั้น เครื่องกําเนิดไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นในการผลิตพลังงานไฟฟ้า สํารอง ไม่ให้การใช้ไฟฟ้านั้นมีการขาดตอนและป้องกันความเสียหายให้กับระบบ การทํางานได้ หรือจําเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่สําคัญ เช่น โรงพยาบาล ชุมสายโทรศัพท์ หรือคลังน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ คงจะเป็นความเสียหายที่ไม่อาจจะรับได้ หากเกิดไฟดับในขณะที่ทีมแพทย์ และพยาบาลกําลังผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตคนไข้
ชนิดของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
นับตั้งแต่ไมเคิล ฟาราเดย์ ค้นพบหลักการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า มาจนถึงปัจจุบันได้มีการคิดค้นพัฒนาต่อยอดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง แบบกําเนิดไฟฟ้าด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า และกําเนิดด้วยไฟฟ้าสถิต ซึ่งเครื่อง กำเนิดเนิดไฟฟ้าที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน จะมีเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง เครื่อง กำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ และไดนาโมที่สามารถกําเนิดทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและ ไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง คือ เครื่องกลที่ต้องรับพลังงานจาก ภายนอกเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า เหนี่ยวนํา ซึ่งอาศัยหลักการใช้ตัวนําเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก ในรูป 9 แยก (Split Ring) หรือที่เรียกว่า คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) เมื่อแรงเคลื่อน ไฟฟ้ากระแสสลับ ไหลมาถึงซีคอมมิวเตเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับนี้จะถูกเปลี่ยนใจ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง และไหลออกสู่วงจรภายนอกโดยผ่านแปรงถ่าน (Brushes ทั้งนี้ เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจะสามารถจําแนกชนิดตามลักษณะของการ จ่ายกระแสไฟฟ้า (กระตุ้นขดลวดสนามแม่เหล็ก) ให้กับขดลวดสนามแม่เหล็ก โดยจะมี 2 ลักษณะ
เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง คือ เครื่องกลที่ต้องรับพลังงานจาก ภายนอกเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า เหนี่ยวนํา ซึ่งอาศัยหลักการใช้ตัวนําเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก ในรูป 9 แยก (Split Ring) หรือที่เรียกว่า คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) เมื่อแรงเคลื่อน ไฟฟ้ากระแสสลับ ไหลมาถึงซีคอมมิวเตเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับนี้จะถูกเปลี่ยนใจ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง และไหลออกสู่วงจรภายนอกโดยผ่านแปรงถ่าน (Brushes ทั้งนี้ เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจะสามารถจําแนกชนิดตามลักษณะของการ จ่ายกระแสไฟฟ้า (กระตุ้นขดลวดสนามแม่เหล็ก) ให้กับขดลวดสนามแม่เหล็ก โดยจะมี 2 ลักษณะ
- เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นภายนอก Separately Excite DC. Generator (ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นขดลวดสนามแม่เหล็ก จากแหล่งจ่ายภายนอก)
- เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นในตัว Self Excite DC Generator (กระแสไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้นขดลวดสนามแม่เหล็กได้จากการเหนียวนําของสนามแม่เหล็กที่ตกค้างในตัวเครื่องกําเนิดไฟฟ้า)
ทั้งนี้ เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรงนั้น ส่วนที่สร้างสนามแม่เหล็กหรือ ฟิวส์จะเป็นส่วนที่อยู่กับที่ “ไม่เคลื่อนที่” ส่วนอาร์เมเจอร์จะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ นอกจากนี้คอมมิวเตเตอร์ของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง จะมีเพียงวงเดียว ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับแปรงถ่าน ซึ่งทําหน้าที่เชื่อมต่อไฟฟ้ากระแสตรงออกสู่ ภายนอก
เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือ เครื่องกลที่ต้องรับพลังงานจากภายนอกเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยว นำซึ่งอาศัยหลักการใช้ตัวนําเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก เช่นเดียวกับหลักการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แต่กระแสสลับจะไม่มีคอมมิวเตอร์ (Commutator) และวงแหวนอื่น (Slip Ring) จะไม่แยกแต่จะมีลักษณะ 2 วง เมื่อขดลวดอาร์เมเจอร์หมุนตัว จะได้กระแสไฟฟ้าวิ่งกลับไปมาในวงจร (กระแสสลับ) โดยเมื่อแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับไหลมาถึงวงแหวนลื่น แรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับนี้ จะไหลออกสู่วงจรภายนอกโดยผ่านแปรงถ่าน
โดยทั่วไปแล้วเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับขนาดกลาง เช่น โรงพยาบาล อาคารสูงที่จะต้องใช้ลิฟต์ หรือ โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรการผลิตได้
ซึ่งลักษณะทั่วไปของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ จะถูกออกแบบให้ขั้วแม่เหล็ก เป็นโรเตอร์ (Rotor) โดยโรเตอร์นี้จะถูกขับเคลื่อน (ส่วนที่เคลื่อนที่) ด้วยต้นกําลังอย่าง เครื่องยนต์ดีเซล กังหันน้ํา กังหันลม หรือกังหันแก๊ส สําหรับส่วนที่อยู่กับ ที่ คือ ขดลวดอาร์เมเจอร์ที่สร้างแรงดันไฟฟ้า (กําเนิดไฟฟ้า) จะติดอยู่บนโครงซึ่ง เป็นส่วนที่อยู่กับที่ (ไม่เคลื่อนที่) หรือที่เรียกว่าสเตเตอร์ (Stator)
ในเริ่มต้นของการศึกษาเรื่องหลักการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเพียงจําไว้ว่าโรเตอร์ (Rotor) ของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า คือ ส่วนที่เคลื่อนที่ (ส่วนที่จะ ต้องหมุน) ส่วนสเตเตอร์ (Stator) คือ ส่วนที่อยู่กับที่ (ติดตั้งบนโครงเครื่อง หรือ Frame) อย่างที่เคยได้อธิบายรูปแบบการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าไปแล้ว ว่า เครื่องกําเนิดไฟฟ้าจะอาศัยหลักการทํางาน 2 รูปแบบด้วยกันคือ 1) สนาม แม่เหล็กที่ตัดผ่านขดลวด “สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดผ่านขดลวดซึ่งอยู่กับที่” และ 2) ขดลวดที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก “ขดลวดเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก” เช่นนั้น หากสนามแม่เหล็กเป็นส่วนที่หมุนเคลื่อนที่ นั่นหมายถึงโรเตอร์ แต่หาก สนามแม่เหล็กเป็นส่วนที่อยู่กับที่ติดกับโครงเครื่อง นั่นหมายถึงสเตเตอร์ และ สิ่งเหล่านี้คือข้อแตกต่างสําหรับเครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง และเครื่องกําเนิด ไฟฟ้ากระแสสลับ โดยกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ขดลวดอาร์เมเจอร์จะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ (โรเตอร์) และสนามแม่เหล็กจะเป็นส่วนที่อยู่กับที่ (สเตเตอร์) แต่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ จะตรงกันข้ามกัน สนามแม่เหล็กเป็นโรเตอร์ ส่วนขดลวดอาร์เมเจอร์เป็นสตเตอร์ หรือเครื่องกำเนอดไฟฟ้าแบบขั้วแม่เหล็กหมุนนั่นเอง
ประโยชน์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
จุดประสงค์หลักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็เพื่อการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งก็เหมาะเป็นอย่างมากในการนำไปใช้กับพื้นที่ต่างจังหวัดที่ห่างไกล และมีปัญหาเรื่องของไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง แต่ถ้ามีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคนในพื้นที่นั้น ๆ ก็จะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ทันที แต่ในปัจจุบันนี้ อาจจะได้เห็นการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าน้อยลงแล้ว เพราะมีการสนับสนุนให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์แทน ถ้าหากสามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก ก็ขายให้กับโรงไฟฟ้าได้อีกด้วย
ด้วยความที่วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในอดีต ก็คือน้ำมัน พลังงานชนิดหนึ่งที่มีต้นทุนสูงมาก และมีราคาผันผวนอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้สามารถใช้พลังงานจากอย่างอื่นได้มากยิ่งขึ้น เช่น พลังงานจากแก๊สธรรมชาติ พลังงานน้ำ พลังงานลม เป็นต้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายคนจึงอาจสับสนกับชนิด และประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จะนำไปติดตั้งได้
ทุกวันนี้ การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานบริการอื่นๆ ก็เพื่อไว้ใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น ระบบไฟฟ้าหลักของการไฟฟ้ามีปัญหาขัดข้อง รถชนเสาไฟฟ้า ฝนตกหนักพายุเข้า จนเป็นเหตุให้ไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้ การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้มีพลังงานสำรอง ก็พอจะยืดเวลาในการเตรียมตัวปิดเครื่องจักร หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และด้วยสาเหตุนี้เอง จึงไม่ได้มีแค่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นที่มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามโรงพยาบาลที่ต้องมีการแช่วัคซีนไว้ในตู้แช่ตลอด การช่วยเหลือคนไข้กรณีผ่าตัดฉุกเฉิน รวมถึงสถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ก็ได้เลือกติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในขนาดที่เหมาะสมแล้ว ถึงแม้ว่าบางคนจะมองว่าเป็นการซื้อมาแบบเสียเปล่า เสียเงินไปโดยฟรี ๆ แต่อย่างน้อยก็ถือเป็นการคุ้มครองความเสียหายได้ระดับหนึ่ง ซึ่งมูลค่าของความเสียหายนั้น อาจจะมากกว่าราคาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายเท่าตัว
การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองตามมาตรฐาน NFPA110
(MAINTAINING A BACKUP GENERATOR ACCORDING)
การดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองตามมาตรฐาน NFPA110
(STANDARD FOR EMERGENCY AND POWER SYSTEMS) เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าจะมีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ทันทีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการวางแผนให้มีการการซ่อมบำรุงรักษาและทดสอบการใช้งานเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตอย่างสม่ำเสมอ
คู่มือการใช้งาน (Instruction manual) เครื่องมือพิเศษหรือเฉพาะ การซ่อมบำรุงรักษาและความถี่ในการซ่อมบำรุง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ (Special Tools) สำหรับการซ่อมบำรุงรักษา, อุปกรณ์การทดสอบ (Testing devices) และอะไหล่ประจำเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าและอะไหล่สิ้นเปลือง จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ภายในห้องเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า โดยเก็บไว้ในกล่องหรือผู้โลหะอย่างดีในตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก
1. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel System)
- ระดับน้ำมันในถังน้ำมันสำรอง (Fuel storage tank) *ตรวจเช็คทุกเดือน
- ระดับน้ำมันในถังน้ำมันประจำเครื่อง *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ลูกลอยของดังน้ำมันประจำเครื่อง *ตรวจเช็คด้วยสายตาพร้อมทดสอบเครื่องทุก 3 เดือน
- การทำงานของระบบส่ง หรือเครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิง *ตรวจเช็คด้วยสายตาพร้อมทดสอบเครื่องทุก 3 เดือน
- การทำงานของโซลินอยวาล์ว *ตรวจเช็คด้วยสายตาพร้อมทดสอบเครื่องทุก 3 เดือน
- ไส้กรองหยาบ {Strainer) ไส้กรอง&ละเอียด (Filter) *ทำความสะอาดทุก 3 เดือน
- น้ำในระบบน้ำมัน *ตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องทุก 3 เดือน
- ท่ออ่อนและข้อต่อ (Flexible hose and connectors) ต่างๆ *ตรวจเช็คด้วยสายตาพร้อมทั้งเปลี่ยนถ้าจำเป็นทุกเดือน
- การอุดตันของท่อหายใจและท่อน้ำมันล้น (Overllow piping) *ตรวจเช็คและทดสอบทุกปี
- ระบบท่อทางน้ำมันและวาล์ว *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุกปี
2. ระบบน้ำมันหล่อลื่น (Lubrication system)
- ระดับน้ำมันหล่อลื่น *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุกสัปดาห์
- น้ำมันหล่อลื่น *เปลี่ยนถ้าจำเป็นทุก 50 ชั่วโมงหรือทุกปี
- ไส้กรองน้ำมันหล่อลื่น *เปลี่ยนถ้าจำเป็นทุก 50 ชั่วโมงหรือทุกปี
- ท่อหายใจ (Crankcase breather) *ตรวจเช็ค ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนถ้าจำเป็นทุก 6 เดือน
3. ระบบระบายความร้อน (Cooling System)
- ระดับของเหลวระบายความร้อน *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุกสัปดาห์
- ระดับของเหลวใน Heat exchanger *ตรวจเช็คทุกสัปดาห์
- ปริมาณอากาศไหลผ่านรังผึ้ง ระบายความร้อน (Radiator) พอเพียงหรือไม่ *ตรวจเช็คทุกเดือน
- ทำความสะอาดภายนอกของรังผึ้ง ระบายความร้อน *ทำความสะอาดทุกปี
- สายพานพัดลมระบายความร้อน และสายพานไดชาร์จ *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุก 3 เดือน
- เครื่องสูบน้ำ (Water pump) *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุก 3 เดือน
- สภาพของท่อนบน ล่าง พร้อมข้อต่อต่างๆ (Condition of flexible hoscs and connection) *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ท่อลม, บานเกร็ด *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตา และทำความสะอาดทุกปี
4. ระบบท่อไอเสีย (Exhaust system)
- การรั่วไหลของก๊าซไอเสีย *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ระบายน้ำภายในระบบท่อไอเสีย ( Drain condensate trap) *ตรวจเช็คทุกเดือน
- ฉนวนหุ้มท่อไอเสีย และ Aluminum *ตรวจเช็คด้วยสายตาและทดสอบทุก 3 เดือน
- Excessive backpressure *ทำความสะอาดทุกปี
- ระบบยึดระบบท่อไอเสีย (Exhaust system hangers and supports) *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุกปี
- ท่ออ่อนท่อไอเสีย (Flexible exhaust pipe) *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุก 6 เดือน
5. ระบบแบตเตอรี่ (Battery System)
- ระดับ Electrolyte *ตรวจเช็คทุกเดือน
- ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และ ขันให้แน่น *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุก 3 เดือน
- วัดความถ่วงจำเพาะของ Electrolyte ของแบตเตอรี่ *ทดสอบทุกเดือน
- การประจุแบตเตอรี่ และอัตราการประจุแบตเตอรี่ *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ชุด charger แบตเตอรี่ *ตรวจเช็คทุกเดือน
6. ระบบไฟฟ้า (Electrical system)
- สภาพทั่วไป *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ขันขั้วต่อสายคอนโทรล (Control Connections และ สายไฟฟ้า Power wiring connection) *ตรวจเช็คทุกปี
- รอยถลอกหรือถูกครูดของสายไฟฟ้า *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุก 6 เดือน
- อุปกรณ์ป้องกันและส่งสัญญาณเตือน *ตรวจเช็คและทดสอบทุก 6 เดือน
- ตู้ควบคุมไฟฟ้าต่างๆ *ทำความสะอาดทุก 6 เดือน
- เซอร์กิตเบรกเกอร์และฟิวส์ *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตา ทดสอบ ทำความสะอาด และ เปลี่ยนถ้าจำเป็นทุกปี
- Main contacts ของชุด ออโตเมติก ทรานสเฟอร์สวิทซ์ *ตรวจเช็คด้วยสายตา ทำความสะอาดทุกปี
- คาลิเบท ค่า voltage sensing ของอุปกรณ์รีเลย์ต่างๆ *ตรวจเช็คและทดสอบทุกปี
- การฉีกขาดของฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า *ทดสอบ 3 ปี หรือ ทุก 500 ชั่วโมง
7. เครื่องต้นกำลัง (Prime mover) ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- สภาพทั่วไป *ตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ไส้กรองอากาศ *ทำความสะอาด และเปลี่ยนถ้าจำเป็นทุก 6 เดือน
- Governor และอุปกรณ์ประกอบ *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตาทุกเดือน
- ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงและหัวฉีด *ทดสอบทุกปี
- ทดสอบจ่ายโหลดอย่างน้อย 30% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 30 นาที *ทดสอบทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน
- ทดสอบจ่ายโหลด *ทดสอบทุกปี
อย่างน้อย 30% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 30 นาที
อย่างน้อย 50% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 30 นาที
อย่างน้อย 100% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 60 นาที - ทดสอบจ่ายโหลด *ทดสอบทุก 3 ปีหรือ 36 เดือน
อย่างน้อย 30% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 30 นาที
อย่างน้อย 50% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 30 นาที
อย่างน้อย 100% ของ Nameplate KW เป็นเวลา 120 นาที - ตั้งวาล์ว (Value clearants) ใหม่ ทุก 500 ชั่วโมง หรือ 3 ปี
- ชนฝาสูบ (Torque bolls) ใหม่ ทุก 500 ชั่วโมง หรือ 3 ปี
8. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)
- โรเตอร์และสเตเตอร์ *ตรวจเช็คด้วยสายตา ทำความสะอาดทุกปี
- แบริ่ง (Bearings) *ตรวจเช็คด้วยสายตา และ เปลี่ยนถ้าจำเป็นทุกปี
- Exciter *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตา ทำความสะอาดทุกปี
- โวลเเรกกูเรเตอร์ *ตรวจเช็ครวมถึงตรวจเช็คด้วยสายตา ทำความสะอาดทุกปี
- ทดสอบความต้านทานของฉนวน *ทดสอบทุกปี
- สภาพทั่วไป *ตรวจเช็คด้วยสายตา ทุกเดือน
- ห้องเครื่อง *ตรวจเช็คด้วยสายตา ทำความสะอาดทุกเดือน
- ตั้งระบบอัตโนมัติ *ตรวจเช็คด้วยสายตา ทุกสัปดาห์